มารยาทในการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ทุกคนควรปฏิบัติ

ล่าสุดในการสำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของผู้คนต่อประชากรไทยในปี 2016 ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีมากถึง 90 ล้านคน โดยดูจากจำนวนเลขหมายและเครื่องโทรศัพท์ที่ขายได้จากค่ายยักษ์ใหญ่ต่างๆ  ทั้งๆ ที่จำนวนประชากรเพิ่งจะมีพอๆ กันเอง  นี่ตอกย้ำความเติบโตของการใช้งานที่เพิ่งมากขึ้นทุกปี และความเปลี่ยนไปของสังคม ค่านิยม และพฤติกรรมการสื่อสารติดต่อระหว่างคนในสังคมก็แน่นอนต้องเปลี่ยนไปตามแนวโน้มนี้เช่นกัน ถ้าอย่างนั้นแล้ว ไม่เพียงแต่ผู้คนในสังคมจะต้องเอาใจใส่การซื้อ และเลือกหาเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีตัวจิ๋วในมือต่อๆ ไปเท่านั้น แต่ว่า สิ่งสำคัญอีกสิ่งที่ทุกคนในสังคมที่มีมาตรฐานและทัศนะที่ดีควรทำด้วยคือ เรียนรู้การใช้อย่างมีมารยาทระหว่างการอยู่ร่วมกันในสังคม  เรื่องสำคัญต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น

มารยาทในการใช้งานตามกาลเทศะ

อย่างแรกสุดที่ต้องทำจิตใจยอมรับ และเปลี่ยนทัศนะให้ได้ก่อนสำหรับผู้ใช้งานมือถือคือ  จะต้องไม่คิดว่าทำอะไรก็ได้กับมือถือตัวเอง ห้ามคิดว่าจะใช้เมื่อไหร่ก็ได้ หรือใช้แบบไหนก็ได้  การคิดตรงข้ามเช่นนี้ได้นำปัญหามาสู่การทะเลาะกันและทำลายสภาพแวดล้อมส่วนร่วมมามากแล้ว คุณสามารถทำได้โดย เริ่มจากใช้สูตร “คิดอะไรไม่ออกให้ไปข้างนอกไว้ก่อน” เช่น ถ้าไม่แน่ใจว่าใครโทรมาจะคุยนานแค่ไหน ใช่เรื่องด่วนหรือเปล่า ขอให้ออกจากห้องหรือที่ส่วนรวม เพื่อรับสายในที่ข้างนอก แล้วคนข้างๆ คุณจะไม่ต้องรำคาญหากกลายเป็นสายที่นานหรือต้องเครียดเสียงดังทีหลัง นอกจากนั้น ถ้ามีทางเลือกในการใช้การส่งข้อความผ่านแอพหรือวิธีอื่น จงเลือกวิธีนี้แทนที่จะใช้การโทรด้วยเสียงระหว่างส่วนรวม

มารยาทในการสนทนา

อย่างที่สองคือ  เมื่อคุณช่วยไม่ได้จริงๆ จำเป็นต้องรับสายและคุยแล้วก็ขอให้ใช้ความละเอียดเรียบร้อยสักหน่อย เช่น การใช้เสียงพูด ไม่ควรดังเกินไปเหมือนกับว่าคุยกับคนที่เดินใกล้ๆกัน เพราะว่าที่จริงโทรศัพท์มือถือนั้นสามารถเร่งหรือลดเสียงดังได้ในตัวเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตะคอกเลยด้วยซ้ำ นอกจากนั้น เรื่องการพูดเรื่องสนทนาเลือกหัวข้อคุย ไม่ควรจะคุยเรื่องที่ละเอียดอ่อน หรือ น่ารังเกียจ ในโทรศัพท์ต่อหน้าคนอื่นกลางที่สาธารณะเหมือนกับคุยกันเองในบ้าน ทั้งๆ ที่คนอื่นไม่รู้จัก หรือแปลกหน้าบางทีอาจจะรับไม่ได้กับหัวข้อที่คนในสายอาจจะรับได้ไม่ว่าอะไรก็ได้

มารยาทในการถ่ายรูป

เรื่องสุดท้ายที่ต้องคิดให้มากด้วยคือ การใช้กล้องมือถือถ่ายรูป ถ้าเป็นสมัยก่อนคงจะเห็นว่า การใช้กล้องติดมือถือคุณภาพแย่ๆ และไม่มีเสียงแถมยังเครื่องเล็กไม่เด่นถ่ายโน่นถ่ายนี่ คงจะไม่ได้สะดุดตาและไม่มีคนสนใจเท่าไหร่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว การนำกล้องที่มีความละเอียดสูงเหมือนกล้องอาชีพไปถ่ายก็จะเห็นหน้า และข้อมูลบางอย่างชัดโจ่งแจ้ง จึงไม่ควรถ่ายโดยไม่ขออนุญาตก่อน เห็นมั้ยล่ะ ว่าถ้าคิดถึงมารยาททุกข้อเหล่านี้แล้ว การใช้โทรศัพท์มือถือ ร่วมกับคนอื่นในสังคมก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย ขอฝากไว้กับผู้อ่าน ณ ที่นี่แล้วกันว่า คิดถึงใจเขาใจเราแล้วสังคมจะน่าอยู่ขึ้นเป็นกอง